วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

บทที่ ๓ ปูมหลังปัตตานี (นอกตำรา)

ย่ำค่ำกลางฤดูฝน....
ฝนตกไม่มากนัก แต่ก็เล่นเอาบริเวณก่อสร้างเฉอะแฉะเป็นส่วนใหญ่ คนงานของบริษัทต่างๆพากันเลิกงานก่อน
จะมืด หน่วยงานของผมพากันเลิกตาม ผมเดินขึ้นไปที่จอดรถ คนขับรถบอกกับผมว่า มีคนงานรอพบอยู่ เขายืน
หลบอยู่ใต้กันสาดห้องเก็บเครื่องมือ ผมมองไปจำได้ทันที คีย์แมนโทนของผมนั่นเอง
ผมเดินไปหาเขา "มีอะไรหรือโทน..." คีย์แมนโทนดึงผมเข้าไปกระซิบ "นายหัวครับ ขากลับให้ใช้เส้นทาง
ใหม่นะ...อย่าใช้ทางเดิม..." ผมตอบรับทันที"ได้...ขอบคุณมากโทน.."
ว่าแล้ว ผมรีบเดินกลับมาที่รถ บอกกับคนขับให้ใช้เส้นทางสายที่ก่อสร้างใหม่ หลบออกจากเส้นทางจะนะ-ลาน
หอยเสียบ ซึ่งเป็นเส้นทางสายเก่าที่ใช้เดินทางเข้าออกทุกวัน ขณะคนขับรถพารถวิ่งออกมาจากโรงแยกแก๊ส
ผมมองดูสองฝั่งด้วยความหงุดหงิด บ้านของเราแท้ๆแต่ต้องอยู่อย่างผู้อาศัย แล้ววันนั้นก็ผ่านไป
พอวันใหม่มาถึง จึงได้รับประกาศจากซัมซุงให้เลิกใช้เส้นทางจะนะ-ลานหอยเสียบ แล้วเขียนแผนที่ใหม่
แนบมากับประกาศฉบับนั้นด้วย ทำให้ผมเกิดความรู้สึกชื่นชมคีย์แมนโทนมากยิ่งขึ้น เขาบอกข่าวที่ตรงกับ
สถานการณ์จริงทุกครั้ง
ผมคิดของผมในใจว่า หนุ่มใหญ่ลูกอีสาน อดีตคนงานกรีดยางแล้วได้ลูกสาวเจ้าของ สวนยางเป็นภรรยา
แม้จะต้องเปลี่ยนศาสนา แต่ความทรงจำยังเต็มเปี่ยม เมื่อผมได้เขารุ่นหลานมาเป็นเพื่อน มิใช่แต่จะได้รับ
ข่าวสารเพื่อความปลอดภัยเท่านั้น ผมยังจะได้รู้ความลี้ลับนานาประการเอามาเติมแต่งความกระจ่างในเรื่อง
ปัญหา ภาคใต้ ให้กระจ่างมากขึ้น
เปล่า... ผมไม่ใช่พวกสายลับ ผมไม่มีหน้าที่ด้านความมั่นคง ผมไม่ใช่ผู้รักษากฎหมาย และ ผมก็ไม่ใช่นักการ
เมือง ผมต้องการรู้ไปทำไม รู้แล้วทำอะไรได้
มันต้องทำได้ เพราะผมมีความเข้าใจในงานเขียน ผมบอกกับตนเองว่า ผมจะเขียนหนังสือสักเล่มหนึ่ง ออกมา
สู่สายตาของพ่อแม่ประชาชน ซึ่งหนังสือเล่มนั้น จักต้องเป็นกุญแจไขไปสู่ความกระจ่าง ดังนั้น...เมื่อผมได้
เพื่อนรุ่นหลาน "คีย์แมนโทน" ผู้ที่รู้จริง จะทำให้เรื่องปรากฏขึ้นในบรรณพิภพ ถ้าผมเขียนทันก่อนตายจากโลกนี้
ไป ยังไงเสีย คนไทยจะได้อ่านหนังสือเล่มนี้อย่างแน่นอน เมื่อคิดเช่นนี้แล้ว ผมยิ่งแสวงหาข้อมูลมากขึ้น เมื่อ
ได้ข้อมูลแล้ว ผมแยกทำเป็นสองส่วน ส่วนแรก ผมบันทึกไว้เป็นความทรงจำ อีกส่วน ผมเขียนเป็นบทความส่งให้
นสพ.บ้านเมืองตามภาระหน้าที่
แต่เรื่องที่เขียนลงในบ้านเมือง ผมส่งต้นฉบับทางแฟกซ์จากจะนะเกือบทุกวัน
สำหรับหนังสือเล่มนี้ เรื่องในเล่มนี้ทั้งเรื่อง ผมเขียนขึ้นใหม่ทั้งหมด เพื่อจะได้เล่าฉากต่างๆให้สามารถมอง
เห็นภาพเคลื่อนไหว อีกอย่างหนึ่ง การเขียนคอลัมน์ในหนังสือรายวันนั้น เราย่อยเรื่องราวออกเป็นชิ้นเล็กชิ้น
น้อย เปรียบเหมือนเอาผ้าขาวผืนใหญ่มาฉีกเป็นริ้วแล้วแขวนให้ปลิวไสว ใครมาเห็นเข้าก็จะแปลกตาแตกต่าง
กันออกไป ส่วนการบรรจุเนื้อหาสาระที่จะให้มันเป็นแท่งใหญ่ ย่อมเป็นไปไม่ได้ การเขียนย่อย จึงไม่อาจขยาย
ความชัดเจนได้ จะทำได้ก็เพียงการโน้มน้าว ความรู้ลึกนึกคิดเล็กๆน้อยๆเท่านั้น หนังสือทำเป็นเล่มหนาเต็มมือ
จะขยายความได้มากกว่า ผมจึงเห็นเนื้อตัวของ คีย์แมนโทน เป็นคนสำคัญของผม เพราะเขาจะเป็นคนนำผม
ไปสู่เวทีน้อยใหญ่ในสถานการณ์สงครามโหด ที่มีวัตถุประสงค์บั่นทอนความมั่นคงของประเทศไทย
อาทิตย์ต่อมา....ในวันพักผ่อน ผมเก็บตัวอยู่ในห้องพัก นั่งอ่านบันทึกเก่าๆอย่างใจจดใจจ่อ บันทึกเล่มนั้นเป็น
ปูมหลังของจังหวัดปัตตานี แต่เป็นปูมหลังนอกตำรา ที่ผมได้มาจากผู้รู้และการค้นคว้า ผมขอเล่าตรงนี้ก่อน
ย้อนไปสู่อดีตนับพันปี ซึ่งเป็นปูมหลังของปัตตานี(นอกตำรา) ย้อมไปปี พ.ศ. ๒๑๐ ขณะนั้นประเทศไทยของเรา
มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล เรียกตัวเองว่า "สุวรรณภูมิ" มีเนื้อที่ใหญ่โตกว่าปัจจุบันมากกว่า ๑ เท่าตัวแต่จำนวนประชาชนมีน้อยนิด ประชาชนทั้งหมดนับถือพระพุทธศาสนา ทั้งนี้เนื่องจากพระพุทธศาสนาถูกเผยแพร่
เข้ามาในประเทศไทยยุคต้นๆ ยุคก่อนพระเจ้าอโศกมหาราชประมาณ ๑๑๕ ปี กล่าวคือเมื่อองค์สมเด็จพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันทปรินิพพาน เราเริ่มนับปีพุทธศักราช ๑ ซึ่งเรียกย่อว่า พ.ศ. พระพุทธศาสนา
เจริญรุ่งเรืองในชมพูทวีปได้ประมาณ ๓๐๐ ปี ก็ได้เกิดปัญหาเสื่อมทรุดอย่างรุนแรง เมื่อพระเจ้าอโศกขึ้นครอง
ราชย์ ได้จัดการสัมนา พระพุทธ แล้วแก้ไขปัญหาอย่างยิ่งใหญ่ เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. ๓๒๕ พระพุทธ
ศาสนาจึงตั้งอยู่ได้
พระพุทธศาสนาเข้ามาถึงประเทศไทยก่อนหน้าที่แล้ว ตั้งแต่ก่อนพระเจ้าอโศกมหาราชจะทรงแก้ไขปัญหา เชื่อ
ว่าพระพุทธศาสนาได้หยั่งรากลงในสุวรรณภูมิตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๑๐ เป็นต้นมา แต่พี่น้องชาวพุทธพากันกล่าวว่า
พระพุทธศาสนามาถึงประเทศไทยตั้งแต่พระพุทธเจ้าทรงมีพระชนม์ชีพ ทั้งนี้ โดยอาศัยความเชื่อในรอยพระพุทธ
บาท ที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับรอยฝ่าพระบาทเอาไว้
เช่น พระพุทธบาท สระบุรี พระพุทธบาทพระแท่นดงรัง จ.สุพรรณบุรี
พระธาตุอิงฮัง ตั้งอยู่ในแขวงสุวรรณเขตประเทศลาว ผมถามพี่น้องชาวลาวว่า ทำไมจึงเรียกพระธาตุอิงฮัง พี่
น้องชาวลาวตอบว่า "อิง" หมายถึงการมาพักพิง ส่วนคำว่า "ฮัง" หมายถึง ต้นรัง แล้วอธิบายต่อไปว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าสมณโคดม เสด็จมาพักพิงใต้ต้นรังเป็นเวลานานถึงหนึ่งเพ็ญแล้ว เสด็จกลับชมพูทวีป
เรื่องเหล่านี้เป็นปูมหลังนอกตำรา ไม่มีหนังสือประวัติศาสตร์ยืนยัน
คนโบราณพากันเล่าขานสืบต่อกันมาว่า พระพุทธศาสนาได้เข้ามาถึงสุวรรณภูมิตั้งแต่เริ่มแรกประกาศพระศาสนา
ไม่ใช่จะเพิ่งเข้ามาเมื่อไม่นาน ยังมีข้ออธิบายอีกว่า การก่อสร้างปราสาทพระราชวัง ล้วนแต่มีศิลปะงดงาม
ภายใต้พุทธศิลป์ การที่จะมีพุทธศิลป์เกิดขึ้นได้ หมายถึงการสืบสานวัฒนธรรมเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาก่อน จึงมี
อิทธิพลต่องานศิลปะทั้งปวง
เมื่อเป็นเช่นนี้ จะว่าพระพุทธศาสนาเพิ่งเข้ามาสู่สุวรรณภูมิจึงเป็นไปไม่ได้
ดังนั้น จึงกล่าวได้อย่างไม่ผิดเลยว่าพระพุทธศาสนา คือพระศาสนาดั้งเดิมของประเทศไทย ตั้งแต่ยุคใช้ชื่อ "
ชาวสุวรรณภูมิ" หรือหากจะกล่าวว่าก่อนหน้านั้น คนไทยนับถือศาสนาอะไร ก็จะตอบได้เลยว่า ส่วนมากจะนับ
ถือผี คนไทยไม่เคยนับถือคริสต์และอิสลามมาก่อน ทั้งนี้ เนื่องจากศาสนาทั้งสองเพิ่งจะเกิดขึ้นในโลกภายหลัง
พระพุทธศาสนาห่างกันเนิ่นนาน
ศาสนาคริสต์เกิดหลังพระพุทธศาสนา ๕๔๓ ปี และศาสนาอิสลามเกิดภายหลังพระพุทธศาสนา ๑๑๒๒ ปี
เมื่อไม่มีคริสต์ ไม่มีอิสลามในยุคต้นๆ ดินแดนแถบใต้ทั้งหมด นับถือพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น แล้วก็มาถึงปัตตานี...
ซึ่งมีเรื่องเล่าว่า ๓๐๐๐ ปีย้อนหลัง สมัยโน้นไม่เคยมีชื้อปัตตานีมาก่อน ดินแดนแถบนี้ไม่มีผู้คนชาติอื่นเป็นเจ้าของ
แต่ในสมัยนั้น คนไทยได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในสุวรรณภูมิมาก่อนแล้ว คนไทยในยุคนั้นมีทั้งไทยน้อย ไทยใหญ่ อ้ายลาว
แยกกันครอบครองพื้นที่เป็นพระราชอาณาจักรหลายที่หลายแห่ง โดยมีภาษาพูดเป็นของตนเอง
จึงสันนิษฐานว่าคนไทย กลุ่มที่ปกครองสุวรรณภูมิมิได้ประกาศเป็นเจ้าของดินแดนแถบนี้ ตั้งแต่หลวงพระบางลง
มาจนถึงใต้สุดทีเดียว ซึ่งหมายถึงเลยปัตตานีลงไปอีกจนถึงแหลมมลายู สิ้นสุดที่ชายทะเลมหาสมุทรแปซิฟิคโน้น
แล้วได้จัดการส่งผู้ปกครองไปบริหารราชการแผ่นดิน เมื่อส่งไปแล้ว เจ้าองค์นั้นแยกเป็นอิสระเลยก็มี ยังคงส่ง
ส่วยสวามิภักดิ์อยู่ก็มี
เมื่อเป็นเช่นนี้ คำว่า "ปัตตานี" จึงไม่เคยมีมาก่อน และก่อนที่จะเป็นปัตตานีขึ้นมา ดินแดนแถบนี้เริ่มรู้จักกันใน
นามว่า "เมืองลังกาสุกะ" ประชาชนเรียกตัวเองว่าชาวลังกาสุกะ ซึ่งไม่แน่ชัดว่าเป็นไทยหรือคนเผ่าไหน ชื่อ
สังกาสุกะ เป็นชื่อที่เล่าขานบอกกล่าวสืบต่อกันมา
คนลังกาสุกะจึงถูกจัดอยู่ในกลุ่มของคนไทยดั้งเดิมที่นับถือผี เมื่อพระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นในโลก และได้เผยแพร่
เข้ามาถึง ก็เปลี่ยนเป็นพุทธ แต่ไม่มีความมั่นคง เนื่องจากจำนวนผู้คนมีไม่มาก และไม่มีคัมภีร์พระไตรปิฎก ทำ
ให้ขาดทฤษฏี ไม่อาจยึดหัวหาดได้มั่นคงได้
เมืองลังกาสุกะ หรือปัตตานีในปัจจุบัน เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ มีทะเลสวยงาม อุดมสมบูรณ์ไปด้วยข้าวปลา
อาหาร เป็นเมืองใกล้ช่องแคบมะละกา เป็นเส้นทางผ่านขอทางทะเล จึงเป็นจุดพักพิงของ คนจีน อินเดีย
แขกชวา ใครที่เดินทางมาถึงแล้วเลยไปก็มี พากันตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรก็มี จึงมีเรื่องเล่าขานกันยาวนานว่า
เมืองลังกาสุกะมีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งนักวันเวลาผ่านไปอีกยาวนาน ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลายครั้งหลายหน ชาวลังกาสุกะตั้งรกรากด้วยความสงบ
มีการไปมาหาสู่ระหว่างชาวลังกาสุกะกับเมืองหลวง โดยกล่าวว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยา หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำ
ทะเลจืดในสมัยท่านยังหนุ่มแน่น ท่านอยู่เมืองลังกาสุกะ
ในยุคนั้น เมืองลังกาสุกะได้ต้อนรับชาวเรือต่างถิ่น เดินทางมาค้าขายมากขึ้น
ต่อมา...ด้วยเวลาอันยาวนานอีกเช่นกัน ด้วยอิทธิพลของคนมาใหม่ ทำให้เชื้อสายลังกาสุกะกลายพันธ์แทบไม่
เหลือ ทั้งนี้เนื่องจากเจ้าเมืองผู้ครองนคร ได้เปลี่ยนศาสนา เปลี่ยนจากพุทธไปนับถืออิสลาม
เมื่อเจ้าผู้ครองนครเปลี่ยนศาสนา ชาวลังกาสุกะก็ต้องปฏิบัติตาม ส่วนชาวกรุงศรีอยุธยายังคงหนักแน่นอยู่กับ
พระพุทธศาสนา ทั้งนี้เนื่องจากพระเจ้าแผ่นดินของกรุงศรีอยุธยา ไม่มีพระหฤทัยเอนเอียงไปศาสนาไหน เกี่ยว
กับเรื่องนี้ผมเคยถามความเห็นท่านผู้รู้ว่า เหตุใดพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีฯ จึงตั้งมั่นอยู่ในพระพุทธศาสนาอย่าง
มั่นคง ในขณะเจ้าผู้ครองนครลังกาสุกะไม่มีความหนักแน่นเลย
ท่านผู้รู้ตอบว่า ลังกาสุกะไม่มีคัมภีร์พระไตรปิฎกให้ยึดเหนี่ยว จึงทำให้ความซาบซึ้ง ตกหล่นไปเป็นอันมาก
ทำให้ขาดสติปัญญา ไม่มีความรู้ความเข้าใจในหลักพระศาสนาที่แท้จริง เมื่อไปเห็นของอะไรแปลกกว่าเดิมก็จะ
ลุ่มหลงได้ทันที
ตั้งแต่เจ้านครลังกาสุกะเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม
ชาวลังกาสุกะทั้งมวลก็เป็นอิสลามด้วย
ผมพลิกเรื่องปูมหลังของปัตตานีด้วยความพินิจพิเคราะห์ ซึ่งเป็นปูมหลังที่ไม่มีการเขียนไว้ในหอสมุดแห่งชาติ ผม
โชคดีที่ได้รับฟังนักปราชญ์คนสำคัญของประเทศเมื่อหลายปีก่อน แล้วได้บันทึกเอาไว้ซึ่งถือเป็นความรู้นอกตำรา
(ท่านจะได้อ่านปูมหลังในตำราในบทต่อไป)
นักปราชญ์ท่านผู้รู้ผู้นั้นคือ นายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ท่านผู้นี้ได้ให้ความรู้แก่ผมอย่างไม่ปิดบังอำพราง คนที่ได้
เข้าใกล้นายประเสริฐ ทรัพย์สุนทรในยุคนั้นมีหลายคน เช่น วีระ ถนอมเลี้ยง ดร.สอาด ปิยะวรรณ นาย
สวัสดิ์ ลูกโดด ฯลฯ แล้วก็ผม... นายสอาด จันทร์ดี
คนไทยหัวก้าวหน้ายุคโน้นรู้ดีว่าคนชื่อประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ได้แสดงตนเป็นผู้เชี่ยวชาญลัทธิคอมมิวนิสต์ พล.อ
ชวลิต ยงใจยุทธ ก็เป็นศิษย์ของประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
ผมขอเล่าความแตกต่างบางประการ ที่เกี่ยวข้องกับนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ที่สอนลัทธิการเมือง รวมทั้ง
สอนลัทธิคอมมิวนิสต์ให้แก่ใครต่อใคร ท่านผู้นี้จะยอมเสียเวลาสอนเป็นการส่วนตัวให้แก่ทุกคนด้วยความเสียสละ
เรียกว่าให้ความรู้เรื่องโน้นเรื่องนี้เป็นรายตัว หรือไม่ก็สอนอย่างมากไม่เกินครั้งละ ๒ คน เรียกว่าสอนแบบ
ใครได้ฟัง คนนั้นรับรู้เอาไปเต็มๆ
เช่นเรื่องทหารประชาธิปไตยเป็นต้น
ผมอยากรู้เรื่องปัตตานี นายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ท่านก็เล่าให้ฟัง ๑ วันเต็ม
นอกจากนี้ ผมยังได้รับฟังความรู้เกี่ยวกับลัทธิประชาธิปไตย ทุนนิยม สังคมนิยม และ คอมมิวนิสต์ แต่ที่ประทับ
ใจผมมากที่สุด ได้แก่ปัญหาแบ่งแยกดินแดนที่พวก "โจรปัตตานี" ต้องการได้อำนาจในดินแดนแถบนี้
ความจริง ผมไม่เคยเรียกท่านผู้นี้ว่า นายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร แต่ผมจะเรียกท่านผู้นี้ว่าอาจารย์ประเสริฐ
ทรัพย์สุนทร
อาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร บอกว่าพวกที่ต้องการแบ่งแยกดินแดนต้องการเอาปัตตานีไปเป็นรัฐอิสลาม เกิด
จากคนไทยเชื้อสายมลายูไม่ใช่เกิดจากคนไทยเป็นกบฏกันเอง
อาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทรบอกว่า อิสลามในประเทศไทยมี ๒ กลุ่ม ซึ่งเราเรียกว่าแขกหรือบัง แขกพวก
หนึ่ง ใจไม่รักคนไทยเลย ไม่ยอมรับว่าตัวเองเป็นคนไทย แขกพวกนั้นเรียกว่า แขกมลายู อีกพวกหนึ่งเรียกว่า
แขกไทย
ผมถามว่าอะไรคือแขกไทย
อาจารย์ประเสริฐตอบว่า แขกไทยก็คือพี่น้องอิสลามที่เป็นคนไทยทั้งกายและใจ เช่นท่านจุฬาราชมนตรี แล้ว
อาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ได้เอ่ยถึงชื่อคุณดำรง พุดตาล - เล็ก นานา ให้ฟัง โดยกล่าวว่าลักษณะ
ของคนเหล่านี้น่าเลื่อมใส ไม่เอาเรื่องศาสนามาเป็นปัญหาไม่ว่ากรณีใด ๆ สังคมไทยไม่เคยเกิดความรู้สึกว่ามี
การแบ่งแยก
ท่านเหล่านี้เราเรียกว่าแขกไทย ส่วนแขกที่มีอีกพวกหนึ่ง ในใจไม่ยอมเป็นคนไทย แขกพวกนั้นแม้จะอยู่ใน
ประเทศไทยก็เรียกว่าแขกมลายู พวกแขกมลายูตั้งตัวเป็นโจรปัตตานี
อาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร กล่าวว่า เราถูกแขกที่ไม่ยอมเป็นคนไทยก่อการกบฏ กระด้างกระเดื่องหลาย
ครั้งหลายหน แขกพวกนี้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ปัตตานีและจังหวัดใกล้เคียง อีกส่วนหนึ่งหนีตำรวจเข้าไปอยู่ใน
ประเทศมลายู แล้วร่วมมือกันก่อกบฏต่อประเทศไทย ทำให้เราเข้าใจผิดว่า เพื่อนบ้านแทรกแซงกิจการภายใน
ของประเทศไทย
อาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ท่านบรรยายให้ผมฟังด้วยการยืนพูดติดต่อกัน ๓ ชั่วโมง สุดท้าย ท่านสรุปว่า
ถ้าแก้ไม่ถูก จะถูกแขกในปัตตานีร่วมมือกับแขกที่หนีไปตั้งบ้านเรือนอยู่ในประเทศมลายู เพื่อนบ้านเรา กระทำ
การใหญ่ได้สำเร็จ เนื่องจากพวกนักการเมืองของประเทศไทย ไม่มีความรู้ ไม่เข้าใจแนวทางแก้ปัญหา ปล่อย
ให้แขกกบฏปลุกปั่นยุยงประชาชน
ผมพลิกปูมหลังปัตตานีด้วยความตื่นเต้น แต่มันเป็นปูมหลังนอกตำรา ไม่มีเขียนเอาไว้ในประวัติศาสตร์ อีก
ประการหนึ่ง คนไทยไม่ได้จัดระบบชนเผ่าให้คนในชาติได้ศึกษา ไม่มีหลักสูตรในโรงเรียนและ มหาวิทยาลัยที่
เป็นประวัติศาสตร์ของชนเผ่า จึงไม่มีเรื่องชนมลายู
คนไทยด้วยกัน จึงทึกทักเอาว่าทุกคนเป็นคนไทย แต่เจ้าตัวเขาบอกว่าเขาไม่ใช่คนไทย
อาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร บอกเอาไว้ว่า ความล้าหลังของประเทศไทยที่น่ากลัวที่สุด ไม่ใช่ระบบนายทุน
ขุนศึก ศักดินา แต่ที่น่ากลัวมากได้แก่ "อวิชชา" ที่มีในหลายเรื่องหลายปัญหาด้วยกัน อวิชชาตัวนี้ได้บ่อนทำลาย
ความก้าวหน้า ความมั่นคงของประเทศ ทั้งๆที่คนไทยได้ยิน คำว่าอวิชชามาเนิ่นนาน พระท่านก็เทศน์ให้ฟังไม่
เคยขาดเลย
ในกรณีของปัตตานี รากเหง้าคืออวิชชา ซึ่งแปลว่าความไม่รู้ก็ได้ แปลว่าถูกอารมณ์ต่ำขวางกั้นได้ หรือแปลว่า
ความโง่เขลาก็ได้ อาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ให้ความรู้แก่ผมไว้ตั้งแต่ปี ๒๕๑๘...ยังทันสมัยเปี๊ยบ

ไม่มีความคิดเห็น: