วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

บทที่ ๑๑ สถานที่ตั้ง....เมืองหลวงรัฐปัตตานี

คีย์แมนโทนกับผมใกล้ชิดสนิทสนมกันมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ได้ข่าวมาว่า สาวชาวใต้เชื้อแขกหลายคนตกหลุม
รักหนุ่มอีสาน บางคนถึงกับได้เสียเป็นแฟนกันแล้ว แต่พ่อแม่คงไม่ยอมรับง่ายๆ ผมบอกกับโทนว่าถึงพ่อแม่ยังไม่
ยอมรับก็คงห้ามไม่อยู่ เพราะว่าอำนาจแห่งความรักไม่มีอะไรขวางกั้นได้ โทนหัวเราะเพราะเขามี
ประสบการณ์มากกว่าใคร
ข่าวสาวใต้กลายเป็นแฟนหนุ่มพุทธ ดังไปเร็วมาก ปรากฏว่าไม่นานก็ได้เกิดความปั่นป่วน ในบริษัทผู้รับเหมา
ช่วงหลายบริษัท พ่อแม่บางรายให้ลูกออกจากงานทันที ห้ามไม่ให้คบหาสมาคมกัน
แต่คนมันจะรักกันเขาก็ต้องหาทางแก้ไขจนได้ วิธีการแก้ไขนั้นคงไม่พ้นต้องไปเปลี่ยนศาสนา ใช้เวลาศึกษาวิธี
การละหมาดและการแสดงตนเป็นอิสลามอีกระยะหนึ่ง หลังจากนั้นก็จะได้แต่งงานกัน โทนเล่าต่อไปว่า สาวใต้
ชอบหนุ่มเหนือและหนุ่มอีสานเพราะเป็นคนทำงาน ดูแลเอาใจใส่เมียดี เป็นที่ประทับใจจนกลายเป็นเรื่องเล่า
ขานสร้างความเชื่อถือเอาไว้มาก
ต่อมาอีก ๓ - ๔ วัน ผมถือโอกาสคุยกับคีย์แมนโทน ขณะพักเที่ยงอีกเช่นเคย
ผมเล่านิทานนำร่องไปก่อน ผมบอกว่า ผมเคยมาทำงานที่สงขลาเป็นผู้จัดการบริษัทเจาะสำรวจน้ำมันและก๊าซ
ในอ่าวไทย ชื่อบริษัท ยูโนแคล ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ตอนนั้นบ้านเมืองยังไม่เจริญ โจรจับตัวเรียกค่าไถ่มีไปทุกหัว
ระแหง ข่าวแบ่งแยกดินแดนได้ยินมาแต่ครั้งนั้นแล้ว
ผมบอกว่าผมอยู่สงขลาติดต่อกัน ๖ ปี จึงลาออกแล้วไปทำงานตะวันออกกลาง แล้วผมก็ถามโทนว่า " เคยรู้
ไหม...พวกโจรปัตตานี เขาคิดจะตั้งเมืองหลวงที่ไหน..."
โทนบอกว่า "ได้ยินยิ่งกว่าได้ยิน เขารู้แล้วด้วยว่าพวกนั้นจะตั้งที่ไหนเป็นเมืองหลวงของรัฐปัตตานี..."
"รู้แล้วเรอะ ?" ผมมีอาการตื่นเต้น แต่ก็ต้องรีบเก็บอารมณ์
"รู้ซิครับนายหัว เขาวางแผนเอาไว้แล้วจะตั้งที่ไหน..." "ปัตตานีนะซี"...ผมพูดขึ้นมาก่อน
"เปล่าเลย...นายหัวรู้มาผิดๆ" โทนมองดูหน้าผม"
“อ้าว... แล้วที่ไหนล่ะ ถ้าไม่ใช่ปัตตานี ผมมองที่ตาของเขา
คีย์แมนโทน เอากระดาษเอ ๔ มาเขียนแผนที่แบบคนที่รู้น้อย อธิบายให้ผมฟัง มือเขียนไปปากก็พูดไป “ตรงนี้
นะ อำเภอธารโต... ฝั่งตรงกันข้าม คือ รัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย ถ้ายิ่งย้อนขึ้นมาทางนี้จะเข้าตัวเมือง
ยะลา แล้วตรงไปเป็นปัตตานี วกขวามือเลาะริมทะเล เป็นเส้นทางไปจังหวัดนราธิวาส ออกจากนราธิวาสก็
จะไปตากใบ แล้วก็เข้ารัฐกลันตัน มาเลเซีย...”
“โทน... พูดมาตั้งนาน ยังไม่รู้เลยว่าเมืองหลวงของเขาจะตั้งที่ไหน...? ผมว่า
“นี่ไง... นายหัว... ตรงนี้เรียกว่าอำเภอบันนังสตา ตรงนี้แหละ... เหลืองหลวงของเขาละ...”
ผมอึ้ง... นั่งพิจารณาดูจุดที่ตั้งที่คีย์แมนดทนเล่าให้ฟัง มันไม่น่าเป็นไปได้ เพราะว่าชื่อของปัตตานีดังมาก...
โลกอิสลามรู้จักกันดี ทำไมจึงไม่ตั้งเมืองหลวงที่ปัตตานี ทำไมจึงเลือกอำเภอเล็ก ๆ ที่ไม่มีชื่อเสียงอะไร
เลย... แต่คีย์แมนโทนเป็นคนที่บอกเรื่องนี้... ผมรับฟังเอาไว้
เถอะ... ไม่ว่าโจรป่าจะเลือกบันนังสตาหรือที่ไหนก็ตาม เราไม่มีอารมณ์ที่จะรับฟัง แต่ถ้าจะมองดูให้ดี จะ
พบว่าทางตอนใต้ของบันนังสตา คือเขื่อนบางลาง และใต้ลงไปคือเบตง พวกโจรป่าคงจะคิดในด้านความมั่นคง
ในระยะข้างหน้าอันยาวนาน ถ้าเขาได้ปัตตานีมาเป็นประเทศของเขาเอง เมืองหลวงที่จะตั้งจะต้องมีพลังพิง
ถ้าเอาปัตตานีเป็นที่ตั้งเมืองหลวง กองทัพเรือยกพลขึ้นบกพริบตาเดียวก็ถึง
แต่ถ้าเลือกเอาบันนังสตา... เต็มไปด้วยขุนเขา มีป่าไม้ให้เป็นที่หลบซ่อนส้องสุมผุ้คน ซึ่งเป็นยุทธภูมิดีมาก
อีกอย่าง ถ้าจะอาศัยกองกำลังที่สะสมเอาไว้นอกประเทศ จะได้พึ่งพาอาศัยในเวลาอันรวดเร็ว ผมคิดไปถึง
กองกำลังจากอาเจะห์ เข้ามาทางบันนังสตาง่ายยิ่งนัก
อำเภอบันนังสตามีเนื้อที่ประมาณ ๖๒๙ ตารางกิโลเมตร มีประชากร ๔๖,๕๑๑ คน แยกเป็นชาย ๒๔,๑๕๙ คน
ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ ๘๒.๒๐% นับถือพระพุทธศาสนา ๑๗.๘๐%
มี ๖ ตำบล ๕๐ หมู่บ้าน
มัสยิด ๔๙ แห่ง วัด ๑๒ แห่งอำเภอบันนังสตาตั้งอยู่ห่างจังหวัดยะลา ๓๙ กิโลเมตร เส้นทางสาย ๔๑๐ วิ่งตัดผ่านภูเขาเป็นส่วนใหญ่ ทำให้
“โจรปัตตานี” มีความเข้มแข็งมากกว่าที่อื่น เชื่อว่าโจรมีกองกำลังซ่อนในหุบเขา ...คีย์แมนโทนเปิดเผยชื่อ
หัวหน้าใหญ่ในพื้นที่บันนังสตาให้ฟังว่ามีหลายคน แต่ที่ปรากฏชื่อเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ได้แก่ อาหมัด
ตืองะหรือุสตาสมะ เป็นครูสอนศาสนาที่โด่งดังมาก ตามด้วย “อุสตาส” อีกหลายคน เช่น สะการีนา หะยีซา
เมาะ อีสมาแอล รายาหลง มีชื่อเล่นว่า อุสตาสโซ๊ะ นายอุสมานเด็งสาแม มีชื่อเล่นว่า “อุสตาสสมัง” นาย
รอเซะ ดอเลาะ ทั้งหมดดังที่มีชื่อเหล่านี้ แต่ละคนจะมีกองกำลังเป็นของตนเอง
พวกโจรปัตตานีได้มอบความไว้วางใจให้หัวหน้าโจรเขตต่อสู้บันนังสตาเร่งการปลดปล่อย เสริมเขี้ยวเล็บ
สร้างความเจ็บปวดให้ทหารและตำรวจให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
ผมตบไหล่คีย์แมนโทน... แล้วให้ลงเวลาทำงาน โอเวอร์ไทม์พิเศษโดยไม่ต้องทำ ๕ ชั่วโมง เขาจะได้รับ
เงินค่าชั่วโมงในซองเงินเดือนงวดต่อไป คีย์แมนดทนถามผมว่าให้ชั่วโมงพิเศษแก่เขาทำไม ผมบอกว่าประเพณี
การทำงานสนามใครขยัน ใครเป็นคนดี รู้จักรักษาความปลอดภัย ไม่ขี้เกียจ ย่อมจะได้ค่าเบี้ยขยัน เรียกว่า “
อินเซ็นตีฟ” (Incentive) ผมเห็นว่าคุณเป็นคนที่ผมพึ่งได้ จึงให้เบี้ยขยันตอบแทนยังไงล่ะ
ถึงเวลา ๑๓.๐๐ น. เสียงเครื่องจักรและผู้คนที่เงียบลงเป็นเวลา ๑ ชั่วโมง ดังก้องขึ้นมาอีกคีย์แมนโทน
และคนงานทั้งหลายแห่ออกไปทำงานอย่างกุลีกุจอ
ผมนั่งเงียบอยู่คนเดียวเกือบ ๕ นาที
คำว่า “เมืองหลวงของพวกโจรพูโล คือบันนังสตา” ดังก้องอยู่ในหัวอก

ไม่มีความคิดเห็น: