วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

บทที่ ๑๔ ย้อนอดีต คลำหาปม

การค้นหาตัวเหตุและปัจจัยว่า อะไรคือตัวแก่นในที่ทำให้เกิดปัญหาความวุ่นวายใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้
ก็ต้องย้อนกลับไปสู่อดีต
๑. เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๐๒๒ เจ้าอินทิรา เปลี่ยนศาสนา หันไปนับถืออิสลาม
๒. ปี พ.ศ. ๒๓๕๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑
ทรงแบ่งการปกครองหัวเมืองออกจากอำนาจของปัตตานีออกเป็น ๗ หัวเมือง
๓. ปี พ.ศ. ๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงให้ยกเลิกระบบเจ้าพระยา
มหานครแล้วนำระบบใหม่มาใช้ เรียกว่า มณฑลเทศาภิบาล เพี่อการเก็บภาษีอากร ส่งตรงเข้าวังหลวง โดย
ไม่ผ่านปัตตานีเหมือนเก่าก่อน (ระบบนี้ได้พัฒนาเป็นเทศบาลถึงปัจจุบัน
๔. ปี พ.ศ. ๒๔๔๕ อับดุลกาเดร์ หรือ "พระยาวิชิตภักดี" ได้ก่อกบฏต่อเมืองหลวง
๕. ปี พ.ศ. ๒๔๕๓ โต๊ะแต มือขวาของพระยาวิชิตภักดี หรือ "อับดุลเกเดร์" ยกกำลังเข้าผาอำเภอยะลา
จังหวัดยะลา ผู้บงการอยู่เบื้องหลัง คือ อับดุลกาเดร์
๖. ปี พ.ศ. ๒๔๕๔ หะยีบูละ ก่อจลาจลขึ้นที่ จันสตาวา อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
๗. ปี พ.ศ. ๒๔๖๕ เปาะจิกา เปิดแนวรบทั่ว ๓ จังหวัด ทำให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง รัฐบาลจึง
ปราบปรามอย่างหนัก เปาะจิกาตายในรังปืน
๘. ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ อับดุลกาเดร์ หรือ "พระยาวิชิตภักดี" ถึงแก่กรรมที่รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ก่อน
ตายได้ฝากอุดมการณ์เอาไว้ว่า ขอให้ลูกหลานอย่าเลิกการต่อสู้ ให้เสียสละชีวิตแลกเอาปัตตานี กลับมาเป็น
ประเทศเอกราชให้ได้ นับแต่นั้นมาก็ได้มีเริ่มนับวันเวลากำหนดยุทธศาสตร์และเป้าหมาย
๙. ในปีเดียวกันนี้ (๒๔๗๖) ได้มีตัวตายตัวแทนอับดุลกาเดร์ปรากฏตัวขึ้น แล้วประกาศสืบทอดเจตนารมณ์รับ
หน้าที่เป็นหัวหน้าโจรปัตตานี คนที่ ๑ ท่านผู้นั้นมีชื่อว่า "ตวนกู มะหมุด มะไฮยีดิน"
๑๐. ปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ตวนกู มะหมุด มะไฮยีดิน ได้เปลี่ยนยุทธศาสตร์ใหม่ เพิ่มการต่อสู้ทางการเมือง จึง
สร้างมือขวาของตน คือ "ตวนกู อับดุลยะลา" หรือ นายอดุลย์ ณ สายบุรี ให้ลงพื้นที่คลุกคลีกับชาวบ้าน ใช้
เวลาเปิดตัวอยู่หลายปี จึงได้มีโอกาสสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร นายอดุลย์ ได้รับชัยชนะลอยสำเข้าสภา
๑๑. ปี พ.ศ. ๒๔๘๗ นายอดุลย์ ณ สายบุรี หรือ "ตวนกู อับดุลยะลา" ผู้แทนราษฎร ได้อภิปรายในสภาว่า
ประเทศไทยข่มเหงรังแกพี่น้องอิสลาม ถ้าเป็นแบบนี้ ไม่อยากเป็นคนไทย เพราะเป็นแล้วเสียเปรียบ แล้ว
กล่าวตู่ประเทศไทยล่าเอาปัตตานีมาเป็นเมืองขึ้น
จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น ปฏิเสธข้อกล่าวหาของนายอดุลย์ ณ สายบุรี ถึงแม้จอมพล
ป.พิบูลสงคราม จะปฏิเสธอย่างไร แต่คำประกาศของ นายอดุลย์ ณ สายบุรีก็ได้ปราฏขึ้นในรัฐสภาแล้ว
๑๒. ในช่วงเดียวกันนี้ ได้เกิดปรากฏการณ์ มีหัวหน้าโจรปัตตานี ถึง ๓ ตวนกู
(๑) ตวนกูมะหมุด มะไฮมะยีดิน
(๒) ตวนกูอับดุลยะลา หรือ นายอดุลย์ ณ สายบุรี
(๓) ตวนกูมัดตารอ๑๓. ปี พ.ศ. ๒๔๙๐ เกิดปรากฏการณ์ หัวหน้าโจรแบ่งแยกดินแดนใหม่ แทนพวกตวนกูทั้งสาม คนผู้นั้น คือ "
หะยีสุหลง อับดุลกาเดร์" ซึ่งเป็นเชื้อสายที่แท้จริงของพระยาวิชิตภักดี หรือ "อับดุลกาเดร์" หะยีสุหลง
อัปดุลกาเดร์ ได้กระทำเยี่ยงกบฏต่อแผ่นดิน จึงถูกจับกุมตัว ถูกตัดสินให้จองจำ ๗ ปี ที่นครศรีธรรมราช แต่ได้
รับการพระราชอภัยโทษ ปล่อยออกมาจากเรือนจำ หลังจากถูกขังอยู่ ๓ปี ๖ เดือน
๑๔. ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ หัวหน้าโจรปัตตานีตัวแทนหะยีสุหลง ชื่อ "หะยีดือราแม" ได้ก่อ
กบฏขึ้น ที่อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส เรียกว่า กบฏ"ดุชงญอ"
๑๕. ปี พ.ศ ๒๔๙๔ หะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ ถูกจับถ่วงน้ำที่เกาะหนู-เกาะแมว จังหวัดสงขลา สร้างความ
โกรธแค้นชิงชังให้เกิดขึ้นในหมู่อิสลาม อย่างไม่เคยมีมาก่อน
๑๖. ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ นักการเมืองภาคใต้ ๕ จังหวัด ประกาศนโยบายตรงกันหมดว่า ถ้าชนะการเลือกตั้ง จะ
แยกดินแดนออกมาเป็นประเทศปัตตานี ปรากฏว่าผู้สมัครที่ประกาศนโยบายแบ่งแยกดินแดน ชนะการเลือกตั้งครบ
๕ จังหวัด แต่ไม่ทันได้อภิปรายในสภา จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัตน์ ได้ทำการปฏิวัติจอมพล ป. พิบูลสงครามเมื่อ
วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๐๐
เรื่องราวที่มีความต่อเนื่องเป็นประหนึ่ง "นิยายเก่าแก่ปรัมปรา" เรื่องนี้ เป็นเรื่องราวที่เป็นจริง จากชีวิต
จริงได้เกิดปัญหาเข่นฆ่าราวีติดต่อกันยาวนาน ในแผ่นดินสยาม โดยที่ประเทศสยาม หรือ ประเทศไทย ไม่ได้
แก้ไขมาแต่ต้น ทำให้เกิดการกล่าวตู่ มีการต่อสู้อย่างยอมถวายชีวิต มีการปลูกฝังให้เยาวชนรุ่นต่อมาเข้าใจผิด
คิดว่าการกระทำของตนเองเป็นสิ่งถูกต้องทั้งหมดนี้คือ การคลำหาปมเงื่อนว่าอะไรคือต้นเหตุของปัญหาทั้งหมด
ผมได้นำประวัติศาสตร์โดยย่อ ตั้งแต่ปี ๒๐๒๒ ฉายให้ท่านได้เห็น "ทางเดิน" ของตัวละครมาจนถึงฉากหลังสุด
คือสิ้นสุดลงที่ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ รวมเวลา ๔๗๘ ปี พอจะทำให้มองเห็นภาพว่า โจรปัตตานีนั้นมีความพยายามหนัก
หน่วงเพียงใดเมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะทำให้ปัญหายุติเพียงแค่สมานฉันท์ หรือการกล่าวขอโทษ มันย่อม "เป็นไป
ไม่ได้เลย " ประโยคนี้ ได้แสดงให้เห็นถึงความผิดพลาดของประเทศสยาม หรือ ประเทศไทยอย่างใหญ่หลวง
แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาผู้บริหารประเทศว่า ไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจในปัญหา ความไม่มั่นคงของประเทศไทย
ที่ตนเองรับผิดชอบอยู่

ไม่มีความคิดเห็น: